วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

              


                                                                                                        รายชื่อสมาชิก


                               นางสาวศรัญญา   กลดี            รหัส  52191880219

                               นางสาวสมร    เวียงคำ             รหัส  52191880229

                               นางสาวสรินยา   รักษา             รหัส  52191880231

                               นางสาวรัตนาพร   สระทอง      รหัส  52191880263
                                                         

           การประถมศึกษา  หมู่  2








วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วันมาฆบูชา




ความหมายของวันมาฆบูชา


                   คำว่า "มาฆะ" นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า "มาฆปุรณมี" หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3การกำหนดวันมาฆบูชา
              การกำหนดวันมาฆบูชาตามปฏิทินจันทรคติของไทยนั้นจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม
ความสำคัญและประวัติของวันมาฆบูชา
              ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง“โอวาทปาติโมกข์” แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่างๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า“ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์”
ทั้งนี้ในวันมาฆบูชาได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อมๆ กันถึง 4 ประการ อันได้แก่
              1.วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
              2.มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า             
              3.พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา             
              4.พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต ซึ่งคำว่า     จาตุรงคสันนิบาต  นี้ มีความหมายตามการแยกศัพท์คือ
            จาตุร แปลว่า 4
            องค์ แปลว่า ส่วน

            สันนิบาต แปลว่า ประชุม
ดังนั้น จาตุรงคสันนิบาต   จึงหมายความว่า “ การประชุมด้วยองค์  นั่นเอง
            ทั้งนี้วันมาฆบูชาถือว่าเป็นวันพระธรรม ขณะที่วันวิสาขบูชาถือว่าเป็นวันพระพุทธ ส่วนวันอาสาฬหบูชา เป็นวันพระสงฆ์ 





การกราบพระ แบบ เบญจางคประดิษฐ์


                                                           การกราบพระ แบบ เบญจางคประดิษฐ์


                     การกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ เป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุด ต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด ซึ่งก็คือพระนั่นเอง เบญจางคประดิษฐ์ แปลว่า ตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ห้า โดย เบญจ ซึ่งแปลว่า ๕ นั้น หมายถึง อวัยวะทั้ง ๕ อันได้แก่ หน้าผาก มือทั้งสอง และเข่าทั้งสอง โดยอวัยวะที่ว่านั้น เวลากราบจะต้องจรดลงให้ติดกับพื้น ซึ่งท่านี้จะปฏิบัติแตกต่างกันใน หญิง และ ชาย
                       สำหรับชายนั้น ให้ปฏิบัติ ดังนี้
                       ท่าเตรียม ท่าเตรียมของชายนั้น จะเรียกว่า ท่าเทพบุตร
                       ท่าเทพบุตร นั่ง คุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้า ไม่นั่งบนเท้า แบบนั่งญี่ปุ่นนะครับ มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง นิ้วมือแนบชิดติดกัน ส้นเท้าไม่แบะออก
                       จังหวะที่ ๑: อัญชลี ยกมือขึ้นประนมมือระหว่างอก ปลายนิ้วชิด เบนออกจากตัวพอประมาณไม่กางศอก
                       จังหวะที่ ๒ : วันทา ยกมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดกลางหน้าผาก พร้อมกับค้อมศีรษะลง
                       จังหวะที่ ๓ : อภิวาท ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้ โดยศอกทั้งสองข้างต่อเข่า ขนานไปกับพื้น หลังไม่โก่ง หรือ ก้นไม่โด่งจนเกินงาม
การกราบจะกราบ ๓ ครั้ง เมื่อครบสามครั้ง ยกมือขึ้นจบ โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง
                        สำหรับหญิงนั้น ให้ปฏิบัติ ดังนี้
                      ท่าเตรียม ท่าเตรียมของหญิงนั้น จะเรียกว่า ท่าเทพธิดา
                      ท่าเทพธิดา นั่งคุกเข่าปลายเท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง นิ้วมือแนบชิดติดกัน ปลายเท้าไม่แบะออก
                      จังหวะที่ ๑: อัญชลี ยกมือขึ้นประนมมือระหว่างอก ปลายนิ้วชิด เบนออกจากตัวพอประมาณไม่กางศอก
                      จังหวะที่ ๒ : วันทา ยกมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดกลางหน้าผาก พร้อมกับค้อมศีรษะลง
                      จังหวะที่ ๓ : อภิวาท ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ห่างกันเล็กน้อย พอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้ โดยศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็กน้อย
การกราบจะกราบ ๓ ครั้ง เมื่อครบสามครั้ง ยกมือขึ้นจบ โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง                                 

                                                  การกราบพระ แบบ เบญจางคประดิษฐ์  แบบ  ผู้ชาย




                                        การกราบพระ แบบ เบญจางคประดิษฐ์  แบบ  ผู้หญิง




วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

                   


                        วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  สอนในเรื่องศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม  หน้าที่พลเมือง  เศรษฐศาสตร์  ประวัติศาสตร์  และภูมิศาสตร์ เป็นวิชาที่สอนให้เข้าใจถึงการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สอนให้คนเป็นคนดี มีศีลธรรม มีความอดทน  เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและประเทศชาติ  มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน